วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่4

วันอังคาร ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2555


- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ทำ mind mapping  ของกลุ่มตัวเองส่งเป็นรายบุคคล
- อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ mind mapping 
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน 12 หัวข้อ  ได้แก่
  1. การนับ
  2. ตัวเลข
  3. การจับคู่
  4. การจัดประเภท
  5. การเปรียบเทียบ
  6. การเรียงลำดับเหตุการณ์
  7. รูปทรง
  8. เศษส่วน
  9. การวัด
 10. เซต
 11. การทำตามแบบ
 12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่3

วันอังคาร ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2555


เพลง โปเล่ โปลา
โปเล่ โปเล่ โปลา โปเล โปเล โปลา
เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขาว ทำลูกคลื่นทะเล
ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม
ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับตัว 


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

อ. นิตยา ประพฤติกิจ (2541:17-19) กล่าวถึงขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
 
1. การนับ   เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
 
2. ตัวเลข   เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
 
3. การจับคู่   เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
 
4. การจัดประเภท   เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
 
5. การเปรียบเทียบ   เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
 
6. การจัดลำดับ   เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
 
7. รูปทรงและเนื้อที่   นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
 
8. การวัด   มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน 
9. เซต   เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
 
10. เศษส่วน   ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
 
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย   เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
 
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ   ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่2

วันอังคาร ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

- อาจารย์แจกกระดาษ A4  4 คนต่อ1แผ่น  แล้วให้วาดรูปสัญลักษณ์ตนเองพร้อมเขียนชื่อใต้ภาพภาพ
- การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส 
-เกมการศึกษา  (แกน2แกน)โดมิโน จิ๊กชอ  ภาพจับคู่   ภาพเหมือน
   เกมเรียงลำดับ อนุกรม อุปมา อุปไมย 

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่1

วันอังคาร ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2555


-อาจารย์ปฐมนิเทศ เกี่ยวกับวิชาที่เรียน การเข้าห้องเรียน การเเต่งตัว การทำงาน การทำบล็อก 
   
-ข้อตกลงร่วมกัน คือ ทุกๆ วันศุกร์ จะตรวจบล็อก
    -มีสมุดจดบันทึกเข้าห้องเรียน 


-อาจารย์ให้ทำใบงาน
    -คณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย น.ศ. เข้าใจว่าอย่างไร? (1ประโยค) 
    -ต้องรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับวิชานี้?